รังสีวินิจฉัย
- หมวด: Disease Clinics
- วันเผยแพร่
แนวคิดการให้บริการ |
ให้บริการตรวจ วินิจฉัย โรค ด้วยเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป (General x-ray), เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง 16 สไลด์ (CT.Scan 16 slices), อัลตราซาวด์ (Ultrasound), การตรวจหลอดเลือดและสมองโดยใช้คลื่นความถี่สูง (Carotid Duplex Ultrasonogram), การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี โดยรังสีแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น |
เครื่องอัลตร้าซาวด์ |
ประโยชน์ของอัลตร้าซาวน์ |
อัลตร้าซาวด์จัดว่าเป็น เครื่องมือที่มีประโยชน์มากในทางการแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยโรคให้แม่นยำขึ้น แพทย์จะใช้เพื่อดูอวัยวะภายในร่างกายต่างๆ เช่น ตับ ถุงน้ำดี ไต ตับอ่อน ม้าม ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้รวมไปถึงทารกในครรภ์มารดา อัลตร้าซาวด์ใช้ตรวจอะไรได้บ้าง |
- เพื่อดูทารกในครรภ์ |
- ดูอวัยวะภายในช่องท้อง ตลอดจนส่วนอื่นๆ ของร่างกาย |
- อัลตร้าซาวด์ทางสูติศาสตร์เพื่อดูทารกในครรภ์ |
อัลตร้าซาวด์จัดว่าเป็น เครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับสูติแพทย์ในการประเมินทารกในครรภ์มารดา เพื่อคาดคะเนถึงอายุความผิดปกติที่มองเห็นได้ เพื่อจะได้วางแผนการดูแลได้ถูกต้อง |
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง 16 สไลด์ (CT.Scan 16 slices) |
เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจวิเคราะห์โดยการใช้รังสี เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ มีความละเอียดสูง รวดเร็ว และสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ทำให้มองเห็นรอยโรคได้อย่างชัดเจน เช่น ตรวจหลอดเลือดของระบบอวัยวะต่างๆ ตรวจรายละเอียดของกระดูก และอวัยวะภายในช่องท้อง |
ข้อดีและประโยชน์ของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ |
- ช่วยวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบและภาวะปวดท้องจากสาเหตุต่างๆ |
สามารถตรวจวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบและภาวะปวดท้องจากสาเหตุต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถทราบว่าปวดท้องจากโรค อะไรหรือในผู้ป่วยอ้วน หรือในคนไข้ไม่รู้สึกตัว |
- ตรวจนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี |
สามารถทำได้ในคนไข้ที่ไตทำงานไม่ดี , คนไข้แพ้สารทึบรังสี สามารถตรวจได้เพราะไม่ต้อง ฉีดสารทึบรังสี และสามารถดูความผิดปกติอื่นๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะและสาเหตุต่างๆ ของการปวดท้องได้ |
- ตรวจดูเส้นเลือดของร่างกายโดยไม่ใส่สายสวน |
โดยปกติการตรวจดูเส้นเลือดของร่างกายจะต้อง ใส่สายสวนเข้าไปในร่างกาย แต่เครื่อง Multislice CT Scan สามารถตรวจดูเส้นเลือด โดยไม่ต้องใส่สายสวน ไม่ต้องเจ็บตัว |
- ตรวจหาลิ่มเลือดในเส้นเลือดของปอด |
ในคนไข้ที่เจ็บหน้าอกแล้วสงสัยว่า มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดของปอด การตรวจด้วย Multislice CTจะได้ผลดีรวมถึงตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เจ็บหน้าอกด้วย |
- ช่วยวินิจฉัยก้อนและมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย |
เช่น ก้อนขนาดเล็กในปอด ตรวจพบใน Multislice Spiral CT Scan ก่อนที่จะตรวจพบในเครื่อง X-Ray ปอดธรรมดาเพื่อการวินิจฉัยที่รวดเร็วและการรักษาที่ถูกต้อง |
- ลดปริมาณรังสีที่คนไข้ได้รับและลดเวลาการตรวจ |
ลดปริมาณรังสีที่คนไข้ได้รับเพียง 50% ของการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดเดิม (Single Slice CT) เมื่อเทียบในระยะทางที่เท่ากัน และใช้เวลาในการตรวจเร็วขึ้น |
- ลดความไม่คมชัดของภาพจากการเคลื่อนไหว |
จึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก คนไข้อุบัติเหตุหรือผู้ป่วยหนักไม่รู้สึกตัว |
การเตรียมตัวก่อนตรวจ |
1. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง |
2. สอบถามประวัติการแพ้อาหารทะเล การแพ้สารอื่น โรคภูมิแพ้ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไต |
การตรวจหลอดเลือดและสมองโดยใช้คลื่นความถี่สูง (Carotid Duplex Ultrasonogram) |
เป็นการตรวจหลอดเลือดใหญ่ ที่คอ ที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า และตรวจหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหลังด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง และตรวจหลอดเลือดว่ามีคราบหินปูนหรือคราบไขมันเกาะอยู่ภายในหลอดเลือดหรือไม่ และสามารถวัดขนาดของคราบดังกล่าวได้ เพราะเมื่อมีการหนาตัวมากขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และอาจทำให้เส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรือตัน การตรวจนี้สามารถช่วยในการประเมินผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต และช่วยในการวินิจฉัย ติดตามสภาพของหลอดเลือดในสมองของผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในห้องผู้ป่วยหนักได้ |
ผู้ที่จะต้องรับการตรวจ Carotid Duplex Ultrasounds |
- ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อดูรอยโรคของหลอดเลือดแดง carotid และติดตามผลเป็นระยะ |
- ผู้ป่วยที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว |
- ผู้ป่วยที่มีเสียงฟู่ ผิดปกติที่หลอดเลือดแดง carotid ทั้งรายที่มีอาการ และไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการ และไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่มีการขาดเลือดเฉพาะที่ |
- ผู้ที่ต้องผ่าตัด โรคหลอดเลือดอื่นๆ เช่น ผ่าตัดตัดต่อหลอดเลือดแดงหัวใจในรายที่มีหลอดเลือดแดงหัวใจอุดตัน เพื่อตรวจประเมินค่า ก่อนนำผู้ป่วยไปผ่าตัด ตรวจสุขภาพเบื้อง ต้นสำหรับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่มีประวัติมีบุคคลในครอบครัวเป็นอัมพาต จากอาการสมองขาดเลือด |
การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี |
เรียกว่า intravenous pyelography (IVP) มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินปัสสาวะที่สำคัญได้แก่ โรคนิ่วที่ตำแหน่งต่างๆ (stones) ไม่ว่าจะเป็นนิ่วในเนื้อไต นิ่วที่กรวยไต นิ่วทีท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในท่อปัสสาวะ เป็นต้น วินิจฉัยโรคเนื้องอกชนิดต่างๆ (tumors) ทั้งชนิดเนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกที่เป็นมะเร็งร้าย รวมทั้งวินิจฉัยความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบขับถ่ายปัสสาวะตั้งแต่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ จนถึงท่อปัสสาวะ การตรวจ IVP ถือเป็นการตรวจทางรังสีวิทยาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งและช่วยในการวินิจฉัย โรคของระบบทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี |
การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี เป็นการตรวจที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล เมื่อทำเสร็จแล้วก็สามารถกลับบ้าน ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องเสียเวลานานพอสมควรกับกระบวนการตรวจซึ่งมีหลายขั้นตอน ด้วยกัน ขั้นตอนการตรวจ IVP เริ่มต้นด้วยการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดดำที่บริเวณแขน จากนั้นเมื่อสีที่ฉีดเข้าไปกระจายไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด จะถูกกรองโดยไตเพื่อขับออกมาทางน้ำปัสสาวะ เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าไตเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่กรองสารต่างๆที่ร่างกาย ไม่ต้องการออกจากร่างกาย โดยขบวนการกรองของไตและระบบทางเดินปัสสาวะเริ่มต้นที่หน่วยไตเข้าสู่ท่อ เล็กๆภายในไต ผ่านมาทางท่อไตทั้งสองข้าง มาเก็บกักไว้ในกระเพาะปัสสาวะและขับถ่ายออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะในที่สุด สีที่ใช้ในการตรวจ IVP เป็นสารไอโอดีน (iodine dye) ซึ่งเป็นสารทึบแสงที่สามารถถ่ายภาพเอ็กซเรย์โดยจะเห็นปรากฎเป็นสีขาวบนแผ่นฟิล์ม เมื่อนำมาล้างแล้ว การที่สีดังกล่าวเป็นสารทึบแสงทำให้รังสีแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยทางรังสีวิทยาได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสีที่ใช้ในการตรวจ IVP เป็นสารไอโอดีนซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรงได้ ดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องสอบถามประวัติการแพ้สารไอโอดีน เช่นเคยแพ้อาหารทะเลหรือไม่ ทุกครั้งก่อนทำการตรวจด้วยสารดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ป่วยควรทราบประการหนึ่ง |
แพทย์ผู้ตรวจ |
![]() |
พ.ท.พัชรพงศ์ พันธ์อุไร |
สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์นัดและประชาสัมพันธ์ รพ.ค่ายวชิราวุธ
ชั้น 1 อาคารกองอำนวยการ โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
ติดต่อสอบถาม ในเวลาราชการ: 075-809581 ต่อ 1102 - 1105, 075-383264, 088-3869359
ติดต่อสอบถาม นอกเวลาราชการ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 16.00 - 20.00น. : 088-3869359
ติดต่อสอบถาม นอกเวลาราชการ วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 12.00น. : 088-3869359
ติดต่อสอบถาม โทรสาร: 075-383322
จำนวนผู้เยี่ยมชม
001841509
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1913
2554
14227
787420
30104
90346
1841509
Server Time: 2021-01-16
HOTbadge
Who's Online
มี 44 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์